tookteelist
วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562
เปิดร่างผังเมือง 'มหานครอีอีซี' (EEC) หน้าตาเป็นอย่างไร
ผังเมืองอีอีซี (EEC)
หน้าตาเป็นอย่างไร
ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2560 ที่ได้เริ่มมีการออกกฎหมาย ในการพัฒนาพื้นที่ระเบียง
เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ
อีอีซี (EEC) นั้น ก็เปรียบเสมือนกับการสตาร์ทเดินเครื่องยนต์โปรเจคอีอีซี (EEC) ซึ่งจากการทำงานของคณะกรรมการนโยบาย
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันอ-อก
(สกพอ.) ที่ผ่านมาก็ได้มีการดำเนินการต่าง ๆ มากมาย อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้ด้านการพัฒนาสาธารณูปโภค-
สาธารณูปการ
การออกใบอนุญาตเขตส่งเสริมการลงทุน
รวมไปถึงการออกกฎหมายปลดล็อคข้อกฎหมายในพื้นที่ ทั้งด้านการพัฒนาที่ดิน
ด้านสิทธิการถือครองที่อยู่อาศัยอีอีซี (สำหรับชาวต่างชาติ) ทำให้ชาวต่างชาติสามารถถือครองคอนโดอีอีซีได้ 100% เป็นต้น
ซึ่งปัจจุบันได้มาถึงส่วนที่เป็นกระบวนการสำคัญในการกำหนดกรอบครอบคลุมการพัฒนาในพื้นที่ ที่เป็นเครื่องมือที่จำเป็นใน
การพัฒนา นั่นคือ ขั้นตอนการออก
ผังเมือง EEC
ที่จะครอบคลุมการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินถึง 3 จังหวัด ได้แก่
จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา
“แต่ท่านรู้หรือไม่ ???
จากการที่มีการวางแผนครอบคลุมถึง 3 จังหวัด ผังเมืองนี้ครอบคลุมพื้นที่ผังเมืองเดิมที่ประกาศใช้แล้วจำนวนเท่าไหร่???
คำตอบก็คือ
ผังเมืองรวมจังหวัด 3 ผัง
ผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน 29 ผัง (แบ่งออกเป็น ฉะเชิงเทรา 8 ผัง ชลบุรี 10 ผัง และระยอง 11 ผัง)
ภาพการวางผังเมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
โดยนับได้ว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ ระดับภูมิภาค ในด้านการวางแผนรองรับการพัฒนาพื้นที่ในอนาคตกว่า 20 ปี
(2560 – 2580) มีพื้นที่ถึง 8,291,250 ไร่ โดยในปี 2560 มีประชากร 4,015,168 คน และคาดการณ์ว่าในปี 2580
จะมีประชากรเพิ่มเป็น 6,006,380 คน
จากช่วงที่ผ่านมาก็ได้มีประกาศร่าง
ผังเมืองอีอีซี (EEC)
ให้ประชาชนได้ศึกษาและเกิดการทำประชาพิจารณ์ขึ้น
อย่างไรก็ตามเนื้อหาสาระของร่าง
ผังเมืองอีอีซี (EEC)
นี้ สามารถสรุปแบ่งพื้นที่พัฒนาออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ พื้นที่พัฒนาเมือง
พื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม และ พื้นที่อนุรักษ์พื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จาก 4 กลุ่มการพัฒนาพื้นที่ ก็ได้แบ่งย่อยออกเป็น 11 ประเภท การใช้ประโยชน์ที่ดิน ดังนี้
11 การใช้ประโยชน์ที่ดิน
ที่ดินประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม (สีแดง)
ที่ดินประเภทชุมชนเมือง (สีส้ม)
ที่ดินประเภทรองรับการพัฒนาเมือง (สีเหลืองอ่อน)
ที่ดินประเภทรองรับการพัฒนาเมือง (สีขาว)
ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ (สีน้ำตาล)
ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ (สีม่วง)
ที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม (สีม่วงอ่อนมีจุดสีขาว)
ที่ดินประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม (สีเขียวอ่อน)
ที่ดินประเภทที่พระราชกฤษฏีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน (สีเหลืองมีเส้นทแยงสีเขียว)
ด้วยที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว)
ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาสภาพแวดล้อม (สีเขียวมีเส้นทแยงสีฟ้า)
ข้อสังเกตจากร่างผังเมืองอีอีซี (EEC) ดังกล่าว คือ จะมีการใช้คำอธิบายประเภทแตกต่างจากรูปแบบผังเมืองในปัจจุบัน
ได้แก่ ศูนย์กลางพาณิชยกรรม ชุมชนเมือง และชุมชนชนบท เป็นต้น ซึ่งปกติจะใช้คำอธิบายเช่น พื้นที่ชุมชน (สีชมพู)
สำหรับผังเมืองรวมจังหวัด และอาจะป็นพื้นที่พาณิชยกรรม (สีแดง) พื้นที่อยู่อยู่อาศัย (สีเหลือง) สำหรับผังเมืองเฉพาะ
โดยอาจเป็นการกำหนดให้ตรงกับวัตถุประสงค์ทั้งทางด้านพาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัยอีอีซี ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
และให้สอดคล้องกับการวางแผนของอีอีซี EEC
ทิศทางไหน อย่างไร ซึ่งหากท่านใด
สนใจข่าวสารด้านอีอีซี (EEC)
ก็สามารถกดติดตามข่าวสารดี ๆ ที่อัพเดตกันจากเว็บไซต์
Tooktee.com
ได้เลยนะครับ
tag : #
ผังเมือง
#
สีผังเมือง
#
ร่างผังเมืองอีอีซี
#
อีอีซี
#
EEC
#
ที่อยู่อาศัยอีอีซี
#
ผังเมืองอีอีซี (EEC)
ที่มา :
https://www.tooktee.com/content/detail/1663
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น