วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. 2556 ร่างผังเมืองใหม่

ทำไมต้องรู้กฎหมายผังเมือง?
กฎหมายผังเมืองที่มีอยู่ในแต่ละจังหวัด จะบอกถึงศักยภาพในการพัฒนาว่าเราสามารถ
สร้างอาคารประเภทไหนได้บ้าง สร้างได้ขนาดเท่าไหร่ สมมุติว่าเราได้ที่ดินขึ้นมาแปลงหนึ่งในราคาถูก อยากจะสร้างคอนโดมิเนียมขาย
แต่ที่ดินคุณตั้งอยู่ในพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นที่ดินประเภทส่งเสริมด้านชนบทและเกษตรกรรม ถึงแม้ว่าจะมีโอกาสสร้างคอนโดมิเนียมได้บ้างในพื้นที่
(บางพื้นที่กำหนดให้สร้างได้เพียง 5% ของพื้นที่ทั้งหมด) แต่การพัฒนาคอนโดมิเนียมแนวสูงแบบ
Hige rise สร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำให้คุณคงเป็นไปไม่ได้  ก็กลับกลายเป็นว่าคุณได้จ่ายเงินซื้อ
ที่ดินในทำเลที่มีศักยภาพน้อยไปซะแล้ว โอกาสในการพัฒนาอะไรก็จะยากขึ้น ก่อนจะซื้อที่ดิน หรือ อสังหาริมทรัพย์ใด ๆ
ก็ควรตรวจสอบสีผังเมืองให้แน่ใจกันก่อนนะคะ
ในทุกจังหวัดจะมีการกำหนดและจัดสรรผังเมืองเอาไว้ สำหรับผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับปัจจุบัน ปีพ.ศ. 2556
และร่างผังเมืองฉบับใหม่ จะแบ่งแยกออกเป็นโซนไล่ตามสีทั้งหมด 10 ประเภท (อันที่จริงมีย่อยกว่านั้นอีก)
โดยจะบอกได้ว่าแต่ละสีหมายถึงอะไร เป็นที่ดินแบบไหน อีกทั้งยังส่งผลต่อราคาที่ดินอีกด้วย
ถึงแม้ว่าที่ตั้งที่ดินจะห่างกันเพียงแค่ไม่กี่เมตร
ก็อาจมีศักยภาพการพัฒนาที่ต่างกันอย่างมากตามข้อกำหนดสีผังเมือง
  • พื้นที่สีเหลือง – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
  • พื้นที่สีส้ม – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
  • พื้นที่สีน้ำตาล – ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
  • พื้นที่สีน้ำเงิน – ที่ดินประเภทสถาบันราชการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
  • พื้นที่สีน้ำตาลอ่อน – ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
  • (ในร่างผังเมืองใหม่ จะเปลี่ยนประเภทสีผังเมืองนี้เป็นพื้นที่พานิชยกรรม พ.1 และ พ.2)
  • พื้นที่สีแดง – ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม
  • พื้นที่สีม่วง – ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม
  • พื้นที่สีเม็ดมะปราง – ที่ดินประเภทคลังสินค้า
  • พื้นที่สีขาวมีกรอบและเส้นทะแยงสีเขียว – ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม
  • พื้นที่สีเขียว – ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม
ในประเภทสีผังเมืองทั้งหมด 10 สีนั้น จะแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 31
บริเวณในร่างผังเมืองใหม่ เพิ่มขึ้นจากประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 26
บริเวณในกฎหมายผังเมืองเดิม ซึ่งหมายความว่าถึงแม้ที่ดินจะอยู่ในพื้นที่สีเดียวกัน
ก็อาจมีข้อจำกัดการพัฒนาที่ทำให้สร้างอาคารบางประเภทไม่ได้นั่นเอง
1. ดูสีผังเมืองบนแผนที่ TOOKTEE
ค้นหาทำเลบ้านของคุณจากชื่อซอย ชื่อเขต หรือชื่อโครงการบ้านของคุณ
หรือซูมลงบนแผนที่ได้เลย ขณะนี้ TOOKTEE เปิดให้บริการตรวจสอบสีผังเมืองบนแผนที่ใน 4 พื้นที่ ดังนี้
  • ดูผังเมืองรวมกรุงเทพปัจจุบันได้ที่นี่ >> CLICK
  • ดูร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฉบับใหม่ได้ที่นี่ >> CLICK
  • ดูผังเมืองรวมบริเวณอุตสาหกรรมและชุมชนแหลมฉบังได้ที่นี่ >> CLICK
  • ดูผังเมืองรวมชุมชนบางปะกงได้ที่นี่ >> CLICK
  • ดูผังเมืองรวมชุมชนบ้านโพธิ์ได้ที่นี่ >> CLICK




สามารถปรับ Opacity ความโปร่งใสของแผนที่เพื่อให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น
2. คลิกบนแผนที่ เพื่อเลือกที่ตั้งที่ดิน หรือบ้านของเรา 
จะเห็นสีผังเมือง เช่น ในตัวอย่างเราดูจากสีผังเมืองปัจจุบัน
พบว่าบ้านของเราอยู่ในพื้นที่เขตคลองสาน ติดถนนกรุงธนบุรี มีสีผังเมืองสีน้ำตาล หรือ
ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (ย.8) FAR = 6 และ OSR =5





อยากรู้ FAR/ OSR คืออะไร บอกอะไรได้บ้าง Click!

3. ถ้าอยากรู้ว่าพื้นที่ของเราสามารถสร้างอาคารประเภทใดได้บ้าง สามารถนำประ
เภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในตัวอย่างคือ พื้นที่สีน้ำตาล ย.8 ไปตรวจสอบได้ที่
ตารางสรุปข้อกําหนดการใช้ประโยชนที่ดินตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556
ด้วยวิธีง่าย ๆ แค่นี้เราก็สามารถตรวจสอบสีผังเมือง และการใช้ประโยชน์ที่ดินกันได้แล้ว
TOOKTEE หวังว่าเพื่อนๆ จะได้รับประโยชน์จากการใช้งานแผนที่ TOOKTEE ของเรา
ใครที่กำลังมองหาอสังหาริมทรัพย์ บ้าน ที่ดิน และอื่น ๆ ก็เข้ามาตรวจสอบสีผังเมืองกันได้เลย
ถ้าใครที่อยากรู้ว่ากฎหมายผังเมืองรวมกรุงเทพใหม่แตกต่างจากฉบับเดิมอย่างไร
สามารถอ่านบทความ สรุปร่างผังเมืองใหม่ หนุนกรุงเทพให้เป็นมหานครแห่งเอเชียใน
20 ปี เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น พร้อมประกาศใช้ ธ.ค. 2563 ได้ที่นี่
หรืออยากจะเปรียบเทียบรายละเอียดสีผังเมืองรวมกรุงเทพฉบับปัจจุบัน – ฉบับใหม่ บนแผนที่ได้ที่นี่


สำหรับคนที่อยู่นอกพื้นที่ที่ TOOKTEE ให้บริการตรวจสอบสีผังเมืองบนแผนที่ก็อย่าเสียใจไป
เพราะ TOOKTEE กำลังเปิดให้บริการสีผังเมืองในจังหวัดอื่นๆ ตามมา ได้แก่ นครปฐม ปทุมธานี
มุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ ฉะเชิงเทรา ระยอง เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และภูเก็ต




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น