วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

12 ข้อต้องตรวจสอบเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน สำหรับนายหน้า ก่อนซื้อ-เช่าที่ดิน

ราคาที่ดินก็แพงขึ้นเรื่อย ๆ จะซื้อทั้งทีต้องลงทุนเยอะ แต่สภาพคล่องต่ำ ก่อนจะซื้อที่ดินสักแปลงเราจึงต้องตรวจสอบศักยภาพของที่ดินก่อนว่าคุ้มค่ากับราคาหรือไม่ เพราะบางครั้งที่ดินที่เรามองว่าสวย ทำเลดี อาจไม่ได้มีมูลค่ามากอย่างที่ตั้งราคาขายไว้ หรือ ที่ดินบางที่อาจจะดูไม่ดีนักแต่เราสามารถนำไปพัฒนาให้มีมูลค่าสูงได้ เพราะเป็นที่ดินที่มีศักยภาพสูงนั่นเอง วันนี้ Feasy โปรแกรมวางแผนการลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ จะมาสรุปสิ่งที่เราต้องเช็คก่อนซื้อที่ดิน จะได้ไม่พลาดนั่นเอง

http://feasyonline.com/content/detail/1201
12 ข้อต้องตรวจสอบเอกสารสิทธิ โฉนดที่ดิน สำหรับนายหน้า ก่อนซื้อ-เช่าที่ดิน
  1. ตำแหน่งที่ดิน

อย่างแรกที่เราต้องตรวจสอบคือ ตำแหน่งและรูปร่างของที่ดิน วิธีการตรวจสอบราคาที่ดิน ได้แก่ การดูขอบเขตที่ดินผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดิน ดูลักษณะที่ดินผ่าน Google maps หรือการลงพื้นที่ไปสำรวจที่ดินด้วยตัวเอง ไม่ว่าอย่างไรก็ตามคุณต้องรู้ตำแหน่งที่ถูกต้อง และ รูปร่างที่ดิน ซึ่งมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคาร เพราะรูปร่างที่ดินที่มีมุมมาก หรือ แคบจนเกินไป ก็จะพัฒนาอาคารได้ยาก

  1. ทางเข้าออก ติดถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล

ขั้นตอนต่อไปเราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่ดินของเรามีทางเข้าออกถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งวิธีนี้อาจดูด้วยตาเปล่าอย่างเดียวไม่ได้ ต้องตรวจสอบเขตทางผ่านเว็บไซต์ของราชการ เพราะ ที่ดินบางทำเลอาจดูเหมือนมีทางเข้าออกทีรถและคนสามารถใช้ได้แต่ตามกฎหมายถนนนั้นเป็นที่ดินของบุคคลอื่น ทำให้เราไม่มีสิทธิใช้ได้ เป็นต้น หากที่ดินของเราติดถนน เราต้องตรวจสอบด้วยว่าเป็นถนนสาธารณะ หรือ ถนนส่วนบุคคล เพราะมีผลต่อศักยภาพการพัฒนาอาคารเช่นกัน

  1. สีผังเมือง บอกศักยภาพการพัฒนาอาคาร และประเภทอาคารที่สร้างได้

สีผังเมืองในแต่ละพื้นที่จะแต่งต่างกัน เพื่อควบคุมการขยายตัวของเมือง แต่ละพื้นที่จึงมีศักยภาพในการพัฒนาอาคารต่างกันนั่นเอง ที่ดินใจกลางเมือง หรือที่ดินตามแนวรถไฟฟ้ามักจะมีศักยภาพตามสีผังเมืองที่สูงกว่าที่ดินเขตนอกเมือง หมายความว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ขนาดใหญ่กว่าแม้มีที่ดินขนาดเท่ากัน และสามารถพัฒนาอาคารประเภทพาณิชยกรรมได้โดยมีเงื่อนไขน้อยกว่า เช่น หากเรามีที่ดินขนาด 2 ไร่

กรณีที่ 1

ที่ดินตั้งอยู่ในพื้นที่สีแดง พ.3 ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม มี FAR 7 และ OSR 4.5% จะพัฒนาอาคารได้สูงสุด 22,400 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคารเพียง 144 ตร.ม. จากพื้นที่ดิน 1,600 ตร.ม. และสามารถพัฒนาอาคารได้หลากหลายประเภท

สีผังเมือง FAR OSR

กรณีที่ 2

ที่ดินตั้งอยู่ห่างออกไปเพียง 10 เมตร แต่ไปตกอยู่ในพื้นที่สีเหลือง ย.3 ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย FAR 2.5  และ OSR 12.5% จะสามารถพัฒนาอาคารได้สูงสุด 8,000 ตร.ม. (ตามข้อกำหนด FAR) โดยต้องมีพื้นที่ว่างรอบอาคาร 400 ตร.ม. เท่ากับว่าพัฒนาอาคารได้ขนาดเล็กลง อีกทั้งยังไม่สามารถมารถพัฒนาอาคารบางประเภท หรือ ต้องพัฒนาภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ เช่น สร้างอาคารพานิชยกรรมขนาดตั้งแต่ 1,000 ตร.ม. ขึ้นไปไม่ได้ เป็นต้น

สีผังเมือง FAR OSR

จาก 2 กรณีข้างต้นจะเห็นว่า ศักยภาพการพัฒนาของที่ดินจะต่างกันอย่างมากหากอยู่บนพื้นที่สีผังเมืองคนละสีกัน แม้ที่ตั้งจะห่างกันเพียงเล็กน้อยก็ตาม หากคุณต้องการตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ Feasy ได้รวบรวมสีผังเมือง 21 จังหวัดพร้อมระบุข้อมูล FAR, OSR มาไว้บนแผนที่
สมัครสมาชิก ตรวจสอบสีผังเมืองฟรี ที่นี่

ดูเพิ่มเติม
อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Floor Area Ratio: FAR) คืออะไร? อัตราส่วนของพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (Open Space Ratio: OSR) คืออะไร?

  1. การเวนคืนที่ผ่านและในอนาคต

ก่อนซื้อที่ดินควรตรวจสอบว่าจะมีการเวนคืนที่ส่งผลกระทบกับที่ดินของเราหรือไม่ Feasy ได้รวบรวมข้อมูลแนวเวนคืนใน 21 จังหวัด และลิงค์เอกสารราชการมาไว้บนแผนที่เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงได้ง่าย ๆ

แนวเวนคืน

 สมัครสมาชิก ตรวจสอบแนวเวนคืนใน 21 จังหวัดฟรี ที่นี่ 

  1. พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

คล้ายกับการตรวจสอบแนวเวนคืน ในแต่ละพื้นที่อาจมีประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่จะกำหนดว่าห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท เช่น พื้นที่รอบท่าอากาศยานจะมีข้อกำหนดว่าในระยะใกล้ๆ เช่น ระยะ 300 เมตรจากแนวเขตที่ดินของสนามบินไม่สามารถสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 12 เมตร ห้องแถวหรือตึกแถว เป็นต้น ในขณะที่ระยะที่ไกลออกไปก็จะปรับข้อกำหนดต่าง ๆ กันไป ก่อนการซื้อที่ดินจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะสามารถพัฒนาอาคารได้ตามที่เราวางแผนไว้ Feasy ได้รวบรวมพื้นที่ห้ามก่อสร้าง 21 จังหวัดไว้เพื่อให้คุณตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายขึ้น

พื้นที่ห้ามก่อสร้าง

 สมัครสมาชิก ตรวจสอบพื้นที่ห้ามก่อสร้างใน 21 จังหวัดฟรี ที่นี่ 

เมื่อเราเห็นศักยภาพของที่ดิน และต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อตัดสินใจ ซื้อ-ขายที่ดิน ต้องตรวจสอบ จากการคัดโฉนด ที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งคุณจะทราบข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่

  1. ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่

  1. การจดจำนอง (ถ้ามี)

ด้านหลังโฉนดที่ดินจะแสดงข้อมูลนิติกรรมที่เกี่ยวข้องกับที่ดินนั้น หากติดจำนองกับธนาคารอยู่ก็จะสามารถตรวจสอบได้

  1. การรอนสิทธิ์

ได้แก่ ภาระจำยอม สัญญาเช่า ที่ดินใต้แนวสายไฟฟ้าแรงสูง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลอย่างมากต่อมูลค่า ราคาที่ดิน เพราะทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่นั่นเอง

  1. หากที่ดินของคุณอยู่ในพื้นที่หมิ่นเหม่
    เช่น อาจครอบคลุมสีผังเมือง 2 สี หรืออยู่ใกล้กับแนวเวนคืนมาก ทำให้คุณไม่มั่นใจว่าที่ดินอยู่ในแนวเขตสีผังเมือง แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างใด ก็ควรส่งเอกสารตรวจสอบกับกรมที่ดินเพื่อความมั่นใจ
  2. ตรวจสอบว่าโฉนดเป็นของจริงหรือไม่

ในบางกรณีเจ้าของที่ดินอาจนำโฉนดที่ดินฉบับที่ถูกที่ถูกยกเลิกแล้วมาขาย หากเราซื้อที่ดินผืนนั้นไปอาจไม่ได้ตามที่ตกลงไว้ จึงต้องตรวจสอบว่าโฉนดที่ดินในมือเป็นของจริงหรือปลอม

  1. ที่ดินถูกอายัด
    หากที่ดินถูกอายัด จะไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินได้ คือ ไม่สามารถซื้อ ขาย โอนที่ดินได้ สามารถตรวจสอบได้จากกรมที่ดิน
  2. เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ
    เช่น การพิจารณาเพิกถอนโฉนด อยู่ระหว่างการแก้ไขรายการจดทะเบียนสิทธิ หรือ อยู่ระหว่างการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน เป็นต้น เพราะจะมีผลต่อที่ดินนั้นโดนตรง ควรตรวจสอบและติดตามการดำเนินการต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จ

       ก่อนซื้อ-เช่าที่ดินมีหลายข้อที่ต้องตรวจสอบให้มั่นใจ จะได้ไม่โดนหลอก ทำให้เราสามารถพัฒนาพื้นที่ได้เต็มศักยภาพของที่ดิน Feasy โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ มีเป้าหมายที่จะช่วยนักลงทุนอสังหาฯ ลดความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน เราจึงพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์นายหน้า เจ้าของที่ดิน นักลงทุนทั้งรายเล็กและรายใหญ่ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ครบ จบในที่เดียว

สมัครใช้งานฟรี! ตรวจสอบสีผังเมือง ราคาที่ดิน แนวเวนคืน พื้นที่ห้ามก่อสร้างทันที

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @FEASY
https://line.me/R/ti/p/%40732vokrq

ที่ดินซื้อที่ดินราคาที่ดินผังเมืองแนวเวนคืนพื้นที่ห้ามก่อสร้าง

บทความต้นฉบับ : http://feasyonline.com/content/detail/1201

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น