วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563

เช็คสีผังเมือง EEC ชลบุรี บนแผนที่ !! ใหม่ by tooktee

          เช็คสีผังเมือง EEC จากที่ได้มีประกาศแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือชื่อเรียกกันอย่างติดปากว่า ผังเมือง EEC (อีอีซี) นั้น
          มีประเด็นอะไรกันบ้างที่น่าสนใจ ??? ทีมงานทุกที่ดอทคอม นำเนื้อหามาสรุปให้ท่านได้รู้ รวมไปถึงมีเครื่องมือที่ช่วยให้ท่านได้เช็คสีผังเมือง EEC ง่าย ๆ บนแผนที่ ดังนี้
          จากประกาศราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 9 ธันวาคม 2562 และได้มีผลบังคับใช้ในวันถัดมานั้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นแผนผังการพัฒนาขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 8.29 ล้านไร่ ในท้องที่ตั้งแต่กรุงเทพมหานคร (บางส่วน) ไปตามจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง รวมจำนวนถึง 5 จังหวัดเลยทีเดียว
          สิ่งที่ตามมาเมื่อผังเมือง EEC ประกาศใช้ ส่งผลให้ผังเมืองรวมเดิม ตามกฎหมายผังเมือง จะถูกยกเลิกทั้งหมด คิดเป็นผังเมืองรวมจังหวัด 3 ผัง ผังเมืองรวมเมือง/ชุมชน 29 ผัง (แบ่งออกเป็น ฉะเชิงเทรา 8 ผัง ชลบุรี 10 ผัง และระยอง 11 ผัง) โดยในผังเมือง EEC นี้จะมีพื้นที่บางส่วนที่ไม่ครอบคลุมข้อกฎหมาย คือ เขตพระราชฐาน และพื้นที่ทหาร (พื้นที่ที่ได้ใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ทางการทหาร)
.
          ผังเมืองที่ประกาศเป็นภาพรวม โดยในอนาคตกรมโยธาธิการและผังเมือง จะจัดทำ ร่างผังเมืองอำเภอ ซึ่งเป็นผังเมืองที่จะลงรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากแผนผังอีอีซี โดย จะจัดทำทั้งหมด 30 ผังเมือง ครอบคลุม 30 อำเภอ แบ่งเป็นจังหวัดชลบุรี 11 ผัง จังหวัด ฉะเชิงเทรา 11 ผัง และจังหวัดระยองจำนวน 8 ผัง โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถประกาศให้บังคับใช้ได้ในปี 2565
สรุปจากประกาศราชกิจจานุเบกษาพบว่า มีการแบ่งการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 11 สี แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 พื้นที่พัฒนาเมืองและชุมชน
  1. สีแดง – ที่ดินประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม
  2. สีส้ม – ที่ดินประเภทชุมชนเมือง
  3. สีส้มอ่อนมีจุดสีขาว – ที่ดินประเภทรองรับการพัฒนาเมือง
  4. สีน้ำตาล – ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ
กลุ่มที่ 2 พื้่นที่พัฒนาอุตสาหกรรม
  1. สีม่วง – ที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม
  2. สีม่วงอ่อนมีจุดสีขาว – ที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม
กลุ่มที่ 3 พื้นที่พัฒนาเกษตรกรรม
  1. สีเหลืองอ่อน – ที่ดินประเภทชุมชนชนบท
  2. สีเขียวอ่อน – ที่ดินประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม
  3. สีเหลืองมีเส้นทแยงสีเขียว – ที่ดินประเภทที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
กลุ่มที่ 4 พื้ืนที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  1. สีเขียวมีเส้นทแยงสีฟ้า – ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  2. สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว – ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากภาพด้านล่าง
สรุปการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังเมือง EEC
ขอบคุณภาพจาก www.eeco.or.th
    ซึ่งหากเช็คเปรียบเทียบสีผังเมืองกทม. (ปัจจุบัน) และสีผังเมือง EEC จะพบว่า คำจำกัดความการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ใช้ของผังเมือง EEC จะมีความแตกต่างอย่างชัดเจน
เปรียบเทียบผังเมืองกทม. และผังเมือง EEC
อาทิ สีแดง ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม เปลี่ยนเป็น ที่ดินประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม เป็นต้น ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าการจัดทำผังเมือง EEC นี้ ออกแบบเฉพาะเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การคมนาคมและการขนส่ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และรองรับการพัฒนาเมืองและชุมชนในอนาคตของพื้นที่ EEC นั้น ๆ
          ทั้งนี้จากฟีเจอร์เด่นในเว็บทุกที่ดอดคอม ที่มีเครื่องมือในการเช็คสีผังเมืองกทม. (ปัจจุบัน) และสีผังเมืองใหม่ (ยังไม่ประกาศใช้) ปัจจุบันทางทีมงานได้เพิ่มผังเมือง EEC ไว้ ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปเช็คการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ง่าย ๆ ตามตัวอย่างรูปภาพด้านล่าง
ผังเมือง EEC บนทุกที่ดอทคอม
หรือสามารถวาร์ปไปฟังก์ชั่นดังกล่าวทางลิงค์ https://www.tooktee.com/map?overlaymap=eec
.
          อย่างไรก็ตามข้อมูลผังสีที่อยู่ในเว็บไซต์ทุกที่ดอคคอม ได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์ Feasyonline.com  โปรแกรมวิเคราะห์การลงทุนอสังหาฯ ออนไลน์ ให้คุณเข้าถึงข้อมูลอสังหาฯ และเครื่องมือวิเคราะห์การลงทุน ง่าย ครบ จบในที่เดียว
          หากใครใช้ฟังชั่นในทุกที่ดอทคอม แล้วอยากได้การวิเคราะห์อสังหาฯ ฉบับเต็มสามารถสมัครสมาชิก Feasyonline.com เพื่อใช้บริการขั้นมืออาชีพได้เลยครับ
รูปบทความ : ตรวจสอบสีผังเมืองง่าย ๆ ผังเมือง กทม. 2556 ร่างผังเมืองใหม่
ผังเมือง EEC 
เช็คสีผังเมือง EEC
ตรวจสอบสีผังเมือง EEC
สีผังเมือง
วิธีเช็คสีผังเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น