อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อหลังปรับลด เหลือเท่าไหร่บ้าง?
ตอนนี้ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 7 แห่ง ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลงแล้ว โดยมีอัตราที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทของดอกเบี้ย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ และแบบลอยตัว ซึ่งรูปแบบการกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) จะเป็นอัตราที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ หรือหมายความว่าถ้าใครทำสัญญาขอสินเชื่อบ้านในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำในตอนแรก แต่สถานการณ์ภายหลังมีการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น ก็จะเป็นผลประโยชน์แก่ผู้ขอสินเชื่อเนื่องจากจะไม่มีค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น และในส่วนของรูปแบบที่ 2 คือ อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Float Rate) จะมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตามสถานการณ์ โดยอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยทั้ง 3 ประเภท ตามลักษณะการขอสินเชื่อและผู้ขอสินเชื่อ ดังนี้
- MRR คือ อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อบ้าน
- MOR คือ อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทวงเงินเกินบัญชี
- MLR คือ อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทสำหรับสินเชื่อระยะยาว
- ธนาคารกสิกรไทย
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ MOR และ MRR ลง 0.25% เหลือ 6.87%
โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 15 สิงหาคม 2652 - ธนาคารกรุงไทย
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ MOR และ MRR ลง 0.25% เหลือ 6.87 %
โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 15 สิงหาคม 2652 - ธนาคารกรุงเทพ
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ MOR และ MRR ลง 0.25 % เหลือ 6.87 %
โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 15 สิงหาคม 2652 - ธนาคารไทยพาณิชย์
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ
อัตราดอกเบี้ย MOR ลดลง 0.125% เหลือ 6.745 %
อัตราดอกเบี้ย MRR ลดลง 0.25 % เหลือ 7.12%
โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 15 สิงหาคม 2652 - ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลง 0.125%
อัตราดอกเบี้ย MRR จากเดิม 6.750% เหลือ 6.625%
อัตราดอกเบี้ย MOR จากเดิม 7.000% เหลือ 6.875%
อัตราดอกเบี้ย MLR จากเดิม 6.250% เหลือ 6.125%
โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 16 สิงหาคม 2652 - ธนาคารออมสิน
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อ MOR และ MRR ลง 0.13% เหลือ 87 %
โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 16 สิงหาคม 2652 - ธนาคารทหารไทย
ปรับลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลง 0.25 % MRR เหลือ 150% และ MOR เหลือ 425%
โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 กันยายน 2562
สำหรับคนที่กำลังจะยื่นขอสินเชื่อบ้าน เพื่อซื้อบ้าน ซื้อคอนโด คงได้รับผลประโยชน์จากการลดอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในส่วนนี้บ้าง ถึงแม้ว่าภาระหนี้ครัวเรือนอื่น ๆ เช่น การขอสินเชื่อซื้อรถยนต์ซึ่งไม่ได้ใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว จะไม่ได้รับผลกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ แต่คาดว่าในภาพรวมคงมีผู้ได้รับผลประโยชน์จากมาตรการการลดดอกเบี้ยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไม่มากก็น้อย
ที่มา: https://www.tooktee.com/content/detail/1604
TAG: สินเชื่อบ้านกสิกร , สินเชื่อบ้านกรุงไทย , สินเชื่อบ้านscb ,
ดอกเบี้ยบ้าน 2562 ทุกธนาคาร , ดอกเบี้ยบ้าน ธอส
TAG: สินเชื่อบ้านกสิกร , สินเชื่อบ้านกรุงไทย , สินเชื่อบ้านscb ,
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น