วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2563 Update


เจ้าของที่ดิน ผู้ได้รับมรดกที่ดินต้องรู้! ปีหน้าต้องจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้วนะ หลายคนคงยังไม่รู้ว่าจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ คิดอย่างไร? ไม่เสียภาษีได้ไหม? Tooktee ขอสรุปรายละเอียดสำคัญของ พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งได้ประกาศในวันที่ 12 มีนาคม 2562 นี้ และจะเริ่มจัดเก็บภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563

 สรุป! พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

– พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร– วัตถุประสงค์ของการปรับกฎหมาย

– ใครได้ประโยชน์ใครเสียประโยชน์

– ถ้าไม่จ่ายจะเป็นอย่างไร

– Hot !!! คำนวณภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างง่ายๆ 

พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คืออะไร

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่จัดเก็บรายปีจากเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้มีกรรมสิทธิ์บ้าน อาคาร ที่ดิน เป็นต้น โดยคิดจากราคาประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  คูณอัตราภาษีที่กำหนดตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน และประเภทบุคคล โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บภาษี เมื่อ พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ถูกประกาศใช้ รัฐก็ต้องยกเลิกการเก็บภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งภาษีบำรุงท้องที่ด้วย เพื่อจะได้ไม่จัดเก็บซ้ำซ้อนกัน โดยมีใจความสำคัญ ได้แก่

–    ประกาศ 12 มีนาคม 2562 แต่เริ่มบังคับใช้ 1 มกราคม 2563

–    ยกเลิกภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน

–    แบ่งประเภทของที่ดินออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, พาณิชยกรรม และที่ดินรกร้างว่างเปล่า

–    เริ่มบังคับใช้วันที่ 1 มกราคมของปี ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะต้องเสียภาษีในปีนั้นๆ

–    จะต้องชำระภาษีภายในเดือนเมษายน ของปีนั้นๆ หากเกินจะมีค่าปรับ

–    กรมธนารักษ์จะเป็นผู้กำหนดราคาประเมินและวิธีการคำนวณภาษี

–    ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน เช่น เช่า เซ้งสิทธิ์ แต่เป็นเจ้าของอาคารก็เสียภาษี (เฉพาะส่วนอาคาร)

–    บุคคลธรรมดา จะได้รับการลดหย่อนของฐานภาษีในช่วง 2 ปีแรก (ปี 2563-2564)

 –    เฉพาะที่ดินเพื่อการเกษตรที่เป็นบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นการจัดเก็บภาษีในช่วง 3 ปีแรก (ปี 2563-2565)

–    บ้านหลังหลัก (บ้านที่เจ้าของมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน) ได้สิทธิการลดหย่อน

–    ทรัพย์บางประเภทที่ได้รับการยกเว้นภาษี อาทิ ศาสนสมบัติที่ไม่ได้หาผลประโยชน์, ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด และหมู่บ้านจัดสรร, ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม, ศาสนสมบัติที่ไม่ได้หาผลประโยชน์

–    มีมาตรการบรรเทาภาระภาษี ในช่วง 3 ปีแรก (ปี 2563-2565) โดยหากคำนวณภาษีแล้ว ภาษีที่ต้องจ่ายเกินจากที่ปกติได้จ่ายภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่จากปีก่อนหน้า ส่วนต่างที่เกินจะคำนวณเพียง 25%, 50% และ 75% ของภาษีที่จ่ายเพิ่ม ในปีที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ

อ่านต่อ https://www.tooktee.com/content/detail/1631#ภาษีที่ดิน #ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง #พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2563 #ภาษีโรงเรือน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น